เมนู

อรรถกถาปฐมสีลยสูตร



พึงทราบอธิบายในปฐมทุสีลยสูตรที่ 6.
คำว่า เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน ได้แก่ เวทนาพึงระงับ
ในขณะ. คำว่า ด้วยมิจฉาญาณะ ได้แก่ ด้วยการพิจารณาที่ผิด. คำว่า
ด้วยมิจฉาวิมุตติ ได้แก่ ด้วยการหลุดพ้นที่ไม่นำออกจากทุกข์. คำว่า
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ท่านได้กล่าวไว้ในคาถาแล้วทีเดียว. คำว่า
ยตฺร หิ นาม เท่ากับ โย นาม.
จบอรรถกถาปฐมสีลยสูตรที่ 6

7. ทุติยทุสีลยสูตร



กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม 4 ประการ



[1568] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่ง
มาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์
ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง-
นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุ-
เคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของ

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้า
ทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยัง
นิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับนิมนต์ด้วย
ดุษณีภาพ.
[1569] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรเเละ
จีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขา
ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
[1570] ดูก่อนคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้
เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อม
ปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา
ของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลา
ไม่ปรากฏ.
[1571] อ. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย
ธรรม 4 ประการ ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน
ภายหน้า ธรรม 4 ประการเป็นไฉน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ประกอบ
ด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระ-
พุทธเจ้านั้น อยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน
ภายหน้า.

อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส
ในพระธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อม
มีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส
ในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมี
ความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล
ก็เมื่อเขาเห็นความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียวกลัว
ความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
นี้แล ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า
[1572] ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม
4 ประการ ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงใน
ภายหน้า ธรรม 4 ประการเป็นไฉน อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้ง
หวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน
พระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะ
มาถึงในภายหน้า.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อเขาเห็นความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า
ใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้น
อยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
นี้แล ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.
[1573] ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้-
เจริญ กระผมไม่กลัว กระผมจักพูดแก่ท่านได้ ด้วยว่ากระผมประกอบด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระ-
สงฆ์ ... อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้ว กระผมยังไม่แลเห็นความขาดอะไร ๆของสิกขาบทเหล่านั้น
ในตนเลย.
อ. ดูก่อนคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผล
ท่านพยากรณ์แล้ว.
จบทุติยทุสีลยสูตรที่ 7

อรรถกถาทุติยทุสีลยสูตร



พึงทราบอธิบายใน ทุติยทุสีลยสูตรที่ 7
บทว่า สมฺปรายิกํ มรณภยํ ได้แก่ ไม่กลัวความตายที่จะมาถึง
ในภายหน้าเป็นเหตุ. บทว่า สมควรแก่คฤหัสถ์ ได้แก่ เหมาะแก่คฤหัสถ์
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
จบทุติยทุสีลยสูตรที่ 7
จบสรกานิวรรควรรณนาที่ 3

8. ปฐมเวรภยสูตร



ว่าด้วยภัยเวร 5 ประการ



[1574] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านอนาถ-
บิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนคฤหบดี ภัยเวร
5 ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดาปัตติ-
ยังคะ 4 ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง
ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต
สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ
ตรัสรู้ในเบื้องหน้า.